เมื่อวันที่ 17-19 มกราคม 2568 นักศึกษาหลักสูตรประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายใต้ควบคุมดูแลโดย ผศ.วสิน ทับวงษ์ หลักสูตรประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม เข้าร่วมโครงการนำเยาวชนเรียนรู้องค์ความรู้จากภาคประชาสังคมด้านวัฒนธรรมและการอนุรักษ์เมืองเก่า ณ ห้องประชุม อาคารปฏิบัติการโรงแรมดาหลาวิลล์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา ถนนรามวิถี , อาคาร ASA Cloud , ห้องประชุมสงขลาสู่มรดกโลก ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม โรงสีแดง (หับ โห้ หิ้น) ถนนครนอก เมืองเก่าสงขลาบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา และพื้นที่โบราณสถานเมืองสงขลาเขาแดง/สิขร/ซิงกอร่า อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
โครงการนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวเปิดหัวข้อ ?พลังเยาวชนกับการสร้างความเปลี่ยนแปลง? นอกจากนั้น ยังมีการบรรยายในหัวข้อ ?บทบาทภาคพลเมืองกับการปกป้องโบราณสถาน? โดย นายพงศ์ธันว์ สำเภาเงิน ผู้อำนวยการกองโบราณคดี กรมศิลปากร อดีตผู้อำนวยการสำนักโบราณคดีที่ 11 สงขลา ; นายวันชัย พุทธทอง บรรณาธิการเพจข่าว ?สื่อเถื่อน? ; ผศ.สดใส ขันติวรพงศ์ นักเขียนและนักแปลอิสระ อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา และ นายบรรจง นะแส ที่ปรึกษาสมาคมรักษ์ทะเลไทย ร่วมด้วยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกันจาก ผศ.ดร.พรชัย นาคสีทอง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และอาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ม.ทักษิณ และ ผศ.วสิน ทับวงษ์ ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม มรภ.สงขลา
ทั้งนี้ นักศึกษาหลักสูตรประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม SKRU ได้รับโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมฯ มากที่สุด ร่วมกับนักศึกษาจากต่างสถาบัน รวม 35 คน และแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อวางแผนและผลิตสื่อสารสนเทศจากประสบการณ์การเข้าร่วม พร้อมทั้งลงพื้นที่ภาคสนาม นับเป็นโอกาสที่ทั้งอาจารย์และนักศึกษาของทางหลักสูตรฯ ได้บริการวิชาการ ต่อยอดการเรียนการสอนและการวิจัยที่มีพื้นที่เมืองเก่าสงขลาทั้งสงขลาเขาแดง/ซิงกอร่า/สิขร สงขลาแหลมสน และสงขลาบ่อยาง อันเป็นแหล่งเรียนรู้ภาคสนามอันทรงคุณค่า ปลอดภัยและใกล้มหาวิทยาลัย ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานักศึกษา ตลอดจนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยการสนับสนุนพันธกิจของมหาวิทยาลัยตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการฯ (ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563) โดยใช้ศักยภาพของบุคลากรและนักศึกษาที่ศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์เมืองสงขลา บูรณาการความรู้ไปสู่การสร้างความเข้าใจประวัติศาสตร์กับผู้คน ชุมชน วิถีชีวิต และศิลปวัฒนธรรม ต่อยอดไปสู่ทุนทางวัฒนธรรม ฯลฯ
สำหรับกิจกรรมปิดท้ายในวันที่ 19 มกราคม 2568 นักศึกษาหลักสูตรประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม มรภ.สงขลา ได้ร่วมลงพื้นที่สำรวจโบราณสถาน ป้อมหมายเลข 9 เมืองสงขลาเขาแดง/สิขร/ซิงกอร่า พระเจดีย์เขาน้อย และร่องรอยการขุดทำลายภูเขาน้อยใกล้กับฐานโบราณสถานพระเจดีย์เขาน้อย เมืองเก่าสงขลาเขาแดง/สิขร/ซิงกอร่า อ.สิงหนคร จ.สงขลา โดยได้นำประสบการณ์จากการเรียนการสอนทั้งจากชั้นเรียนในมหาวิทยาลัยและกิจกรรมที่หลักสูตรตลอดจนผู้สอนพาสัมผัสสถานที่จริง ผู้คน และสภาพแวดล้อมจริง มาผลิตสื่อสารสนเทศตามความถนัดและความสนใจของผู้เข้าร่วมโครงการฯ โดยมีการจัดประกวดสร้างสรรค์สื่อสารสนเทศ ซึ่งนักศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม SKRU กวาดรางวัลร่วมกับกลุ่มที่ตนเองร่วมกิจกรรม ดังนี้
ทีม ?ทุ่งลาเวนเดอร์? ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากผลงาน "หัวเขาแดง: สัญลักษณ์แห่งสงขลาที่ต้องรักษา" มีนักศึกษาสาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม มรภ.สงขลา ชั้นปีที่ 2 (นางสาวศศิพร พรมเส้ง) ร่วมกับนิสิตสาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา และนักศึกษาจากกลุ่ม Lost in Hatyai
ทีม ?History of Songkhla? ได้iy[รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จากผลงาน ?เหตุการณ์บุกรุก เขาแดง เขาน้อย เมืองสงขลา? มีนักศึกษาสาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม ชั้นปีที่ 2 (นายอภิชัย นุ่นปาน) และชั้นปีที่ 1 (นายกรวิชญ์ ทาหาญ) และนักศึกษาจากกลุ่ม Lost in Hatyai
ทีม ?Walk in Singora? ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 และ รางวัลขวัญใจพี่หลวง (ผลงานโดดเด่นทรงคุณค่าจากมุมมองของวิทยากรกระบวนการ และบรรณาธิการสื่อออนไลน์ เพจ สื่อเถื่อน) จากผลงาน ?โบราณสถานเจดีย์เขาน้อยกับการบุกรุก? มีนักศึกษาจากสาขาประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม ชั้นปีที่ 2 (นายรัชพล ทองหนู) และชั้นปีที่ 1 (นางสาวซอดาน๊ะ บินโซ๊ะ) ร่วมกับนิสิตสาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
ข้อมูล/ภาพโดย ผศ.วสิน ทับวงษ์ หลักสูตรประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม มรภ.สงขลา
โหลดเพิ่มเติม