Album Gallery Songkhla Rajabhat University
ประมวลภาพกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
มรภ.สงขลา ประกวดผลงานนักศึกษาสหกิจฯ และการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน ระดับมหาวิทยาลัย ประจำปี 2568 เปิดเวทีโชว์ศักยภาพจากการฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ เตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาดงาน ศูนย์สหกิจศึกษา สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา (มรภ.สงขลา) จัดประกวดผลงานสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน ระดับมหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2568 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ ห้องประชุมนิวัต กลิ่นงาม ชั้น 6 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.วีระชัย แสงฉาย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย เป็นประธานในพิธีเปิด กล่าวรายงานโดย อาจารย์เอมอร อ่าวสกุล รองผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เพื่อเผยแพร่ผลงานและเป็นเวทีแสดงศักยภาพของนักศึกษาสหกิจศึกษา โดยแบ่งการนำเสนอและตัดสินผลรางวัลการประกวดออกเป็น 3 กลุ่มสาขาวิชา ในรูปแบบของการนำเสนอภาคบรรยาย ได้แก่ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดีเด่น จำนวน 14 ผลงาน กลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ดีเด่น จำนวน 9 ผลงาน และด้านนวัตกรรมดีเด่น จำนวน 11 ผลงาน รวมทั้งสิ้น 34 ผลงาน โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และอาจารย์สนใจเข้าร่วมโครงการประมาณ 120 คน สำหรับผลรางวัลการประกวดแต่ละประเภท มีดังนี้ 1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดีเด่น รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานเรื่อง : ผลของพาโคลบิวทราโซลร่วมกับโมโนโพแทสเซียมฟอสเฟตต่อการออกดอกของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง จัดทำโดย นายกฤษฏวัลค์ เพ็ชรจำรัส นายณัฐพงษ์ ร่มสุข และ นายธนกฤต พรหมฉ่ำ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร ปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.ศุภัครชา อภิรติกร และ ผศ.ดร.อมรรัตน์ ชุมทอง รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานเรื่อง : การลดปัญหาน้ำหนักบรรจุเกินของผลิตภัณฑ์ปลาทิพย์แช่แข็ง จัดทำโดย นางสาวศิริรัตน์ โทสิทธิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงานเรื่อง : การเพิ่มประสิทธิภาพในการพันสินค้าบนพาเลทเพื่อการจัดเก็บ โดย นางสาวสวรรยา ดลหมาน สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ ผลงานเรื่อง : ผลของรูปแบบรังไข่ต่อประสิทธิภาพการผลิตไข่ฟักของแม่พันธุ์ไก่เนื้อสายพันธุ์ Cobb 500 โดย นางสาวจุฑาภรณ์ ชัยเชื้อ นางสาวพิมพ์ศิริ แก้วจันทร์ นางสาวสิราวรรณ จันทร์แก้ว นายจิรากร แก้วเกิดศรี นางสาวสโรชา ฉิมมุสิก และ นางสาวสุนันทา อาลีปาเก สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร และ ผลงานเรื่อง : การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการตัดสายรัดเหล็กพืดในการแพ็กถังน้ำมัน โดย นายณัฐวุฒิ นิลพันธ์ สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 2. กลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ดีเด่น รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานเรื่อง : การสร้างสื่อวิดีโอแนะนำท่องเที่ยวฮาลาลในจังหวัดเชียงใหม่ ผ่านทางแฟนเพจของบริษัท Yasmeen & Asma Travel จัดทำโดย นางสาวอัซมีซา ไทยสนิท และ นางสาวนูรอามีรา ดรอนิง สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ สำนักงาน ยัสมีน แอนด์ อัสมา ทราเวล จ.เชียงใหม่ อาจารย์ที่ปรึกษา อ.ดร.สลิลา เพ็ชรทอง รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานเรื่อง : ปลดล็อกการศึกษาเด็กรัตภูมิรุ่นใหม่ โดย นายวชิรวิชญ์ เภาทอง สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงานเรื่อง : การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวบ่อน้ำร้อนเขาชัยสนผ่านแอปพลิเคชัน Tik Tok โดย นายก้องภพ มูสิกนิลพันธ์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ ผลงานเรื่อง : E-book คู่มือท่องเที่ยว จ.ยะลา โดย นางสาวนุรเดียนา สีเดะ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (การจัดการปกครองท้องถิ่น) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ ผลงานเรื่อง : วารสารเพื่อการประชาสัมพันธ์รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2567 ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา (E-journal) โดย นางสาวณิชกมล สุขชุม สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (การจัดการปกครองท้องถิ่น) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 3. ด้านนวัตกรรมดีเด่น รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานเรื่อง : ผลิตภัณฑ์ชาสกัดเย็นและเม็ดบีดส์ชา จัดทำโดย นางสาวกัญญาณัฐ ใจแข็ง และนางสาวเสาวภา หาระสาย สาขาวิชาการผลิตและการจัดการผลิตภัณฑ์อาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาณ สถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.นพรัตน์ วงศ์หิรัญเดชา และ อ.ดร.กมลทิพย์ นิคมรัตน์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานเรื่อง : การพัฒนาจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงรูปแบบบอล โดย นายอนิวัต โดะโอย และ นายปรเมศวร์ หนูทอง สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ผลงานเรื่อง : บอทน้อยแชทบอท LLM จองงานซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ โดย นายธนากร นกเขียว และ นางสาวภัควดี รัตนมานะ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ ผลงานเรื่อง : ระบบสั่งงานของทีม SALE & MAKETING DEPARTMENT โดย นางสาวตัสนีม ราชนิยม และ นางสาวปิยธิดา แก้วทอง สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ผลงานเรื่อง : ระบบบริหารจัดการและติดตามการขนส่งสินค้า โดย นายธนภัทร ชุมแก้ว สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ กิจกรรมที่ศูนย์สหกิจศึกษาจัดขึ้นในครั้งนี้ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ เป้าหมายที่ 17 เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน